การศึกษาแนวคิดของนักเรียนในภาพกว้าง: ดาราศาสตร์

ในการวิจัยหลายๆ โครงการ ผู้วิจัยมักแบ่งงานโครงการวิจัยออกเป็นส่วนย่อย โดยแต่ละส่วนย่อยก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น หากผู้วิจัยยังไม่แน่ใจว่า ตัวเองควรทำวิจัยในเรื่องอะไร และกับคนกลุ่มไหนดี ผู้วิจัยก็อาจเริ่มต้นจากการศึกษาในภาพกว้างๆ ก่อน เพื่อดูว่า แนวคิดวิทยาศาสตร์ใดบ้างที่เป็นปัญหาสำหรับนักเรียนคนกลุ่มใด จากนั้น ผู้วิจัยค่อยศึกษาเชิงลึกอีกครั้ง

ตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยเรื่อง “A Cross-Age Study of Senior High School Students’ Conceptions of Basic Astronomy Concepts” ผู้วิจัยศึกษาในภาพกว้างว่า นักเรียนกลุ่มต่างๆ มีแนวคิดทางดาราศาสตร์อย่างไรบ้าง โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่ถามแนวคิดทางดาราศาสตร์หลายๆ แนวคิด ได้แก่ การเกิดกลางวันกลางคืน การเกิดข้างขึ้นข้างแรม ขนาดของดวงดาวต่างๆ ระยะห่างระหว่างดวงดาวต่างๆ การเกิดฤดูกาล สุริยวิถี การโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ เวลาที่ต่างกัน ณ ตำแหน่งต่างๆ บนโลก สุริยุปราคา การหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์ และ ศูนย์กลางของจักรวาล [แบบสอบถามอยู่ในภาคผนวกของงานวิจัยนี้ครับ] การศึกษาแบบ “หว่านแห” นี้จะช่วยให้ผู้วิจัยเห็นว่า ตนเองควรให้ความสำคัญและทำการวิจัยในเรื่องใดเป็นพิเศษ และกับนักเรียนกลุ่มใด

ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยก็วิเคราะห์คล้ายกับการตรวจข้อสอบนักเรียนครับ กล่าวคือ ผู้วิจัยก็ตรวจสอบเป็นรายข้อเลยว่า นักเรียนทั้งหมดตอบคำถามแต่ละข้อถูกต้องกี่เปอร์เซ็นต์ และไม่ถูกต้องกี่เปอร์เซ็นต์

ผลการวิจัยนี้แบบสั้นๆ คือว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องสุริยวิถี เวลาที่ต่างกัน ณ ตำแหน่งต่างๆ บนโลก และการหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์ครับ ส่วนนักเรียนที่เคยเรียนฟิสิกส์เข้าจแนวคิดทางดาราศาสตร์ได้ดีกว่างนักเรียนที่ไม่เคยเรียนฟิสิกส์ครับ

Comments

comments