อุทาหรณ์จากงานวิจัย: การให้นักเรียนสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต

อาจารย์หลายท่านคงเคยให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต บางคนอาจทำบ่อย บางคนอาจทำไม่บ่อย อันนี้ก็แล้วแต่คน อย่างไรก็ตาม ผมมีอุทาหรณ์จากงานวิจัยเรื่องหนึ่งครับ งานวิจัยนี้มีชื่อว่า “Internet as a Source of Misconception: Radiation and Radioactivity

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาว่า ข้อมูลอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดแนวคิดที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ และอะไรบ้าง โดยผู้วิจัยสนใจศึกษาในเรื่องของกัมมันตรังสี และการแผ่รังสี ในการนี้ ผู้วิจัยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 เป็นการสำรวจการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียน ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการใช้อินเตอร์เน็ต เครื่องมือสืบค้น (Search engine) ที่นักเรียนชอบใช้ และ คำสำคัญที่นักเรียนใช้ในการสืบค้นเรื่อง “กัมมันตภาพรังสื และ การแผ่รังสี” ข้อมูลที่ได้จากตอนที่ 1 นำไปสู่การวิจัยตอนที่ 2 ครับ

ในตอนที่ 2 นั้น ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากตอนที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย “คำสำคัญ” และ “เครื่องมือค้นหา” ไปสืบค้นในอินเตอร์เน็ต จากนั้น ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ 200 อันดับแรกมาวิเคราะห์ว่า เนื้อหาเหล่านั้นมีแนวคิดที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ และอะไรบ้าง โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 คน ร่วมกันวิเคราะห์ [ผู้วิจัยไม่ได้ระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดมีการตรวจสอบความสอดคล้องของผลการวิเคราะห์หรือไม่]

ผลการวิจัยปรากฎว่า อินเตอร์เน็ตมีเนื้อหาที่คลาดเคลื่อนหรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีและการแผ่รังสีครับ

อาจารย์คงจำกันได้นะครับว่า ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้จากหลายแห่ง ทั้งประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ภาษา การสอนที่ขาดความระมัดระวัง และสื่อต่างๆ ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึงอินเตอร์เน็ตด้วยครับ [เว็บไซต์นี้ก็อาจเป็นอีกแหล่งหนึ่งของแนวคิดที่คลาดเคลื่อนครับ 555+]

Comments

comments