Situative and Constructivist Learning

ในเนื้อหาของเรื่องก่อนหน้านี้ (วิทยาศาสตร์คือวัฒนธรรม) ผมได้ยกแผนภาพข้างล่าง ซึ่งแสดงถึงสมาชิกต่างๆ ที่มีระดับความเชี่ยวชาญและระดับการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน ภายในชุมชนปฏิบัติงานใดๆ

cop

แผนภาพนี้มีข้อจำกัดเหมือนกันนะครับ กล่าวคือ เส้นที่แบ่งคนเหล่านี้ออกเป็นกลุ่มๆ เป็นเพียงเส้นเสมือน มันไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างกลุ่มคนเหล่านี้ และคนเหล่านี้ไม่ได้อยู่แยกออกจากกันนะครับ เส้นเหล่านี้แค่แสดงความแตกต่างของระดับความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานใดๆ และความแตกต่างของระดับการมีส่วนร่วมภายในชุมชนแห่งการปฏิบัติงานนั้นครับ นอกจากนี้ เส้นวงนอกสุดที่เป็นขอบเขตของชุมชนแหง่การปฏิบัติงานก็ไม่มีตำแหน่งที่ชัดเจนครับ ระดับความเชี่ยวชาญและระดับการมีส่วนร่วมจะลดลงทีละน้อยๆ จากศูนย์กลางและหมดลงที่ระยะอนันต์ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือว่า เส้นขอบเขตนี้ไม่คงที่ครับ มันขยายได้และหดลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและความนิยมในการปฏิบัติงานนั้น

ผมหวังว่า อาจารย์คงเริ่มคุ้นเคยกับแนวคิดของ Situated Learning และ Communities of Practice บ้างแล้วนะครับ ซึ่งทั้งสองแนวคิดได้เข้ามามีบทบาทในงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษามากขึ้น [และผมเชื่อเป็นการส่วนตัวว่า มันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาต่อจากนี้ไป] หลักการสำคัญของทั้งสองแนวคิดนี้ก็คือว่า การเรียนรู้เรื่องใดๆ ก็ตามจะมีความหมายและทรงพลัง ก็ต่อเมื่อการเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม มันเป็นการเรียนรู้ที่ฝังตัวอยู่ใน “สถานการณ์จริง” ผ่าน “การปฏิบัติงานจริง” ภายใต้การดูแลโดย “ผู้ที่เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานนั้นจริง” มันเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีการแยกส่วนออกเป็นด้านต่างๆ เช่น ด้านสติปัญหา ด้านทักษะ และด้านเจตคติ แต่การเรียนรู้ทุกด้านถูกหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในรูปแบบของการเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติงานนั้น ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่ “มาตรฐาน(การเรียนรู้)วิทยาศาสตร์รุ่นต่อไป” (Next Generation Science Standards) ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้โดยใช้คำว่า “การปฏิบัติงาน” (Practice) ซึ่งมีความหมายรวมกันทั้ง “ความรู้” และ “ทักษะ” ดังนี้ครับ

We use the term “practice” instead of a term such as “skills” to emphasize that engaging in scientific investigation requires not only skill but also knowledge that is specific to each practice

และในทำนองเดียวกัน การประเมินในระดับนานาชาติ (เช่น PISA 2015) ก็ไม่ได้ประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบแยกส่วนแล้วนะครับ เขาประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบรวมๆ ในรูปแบบของ “สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์” ซึ่งก็คล้ายกับ “การปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์” นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม กว่าที่แนวคิดทั้งสองจะได้รับการยอมรับ นักการศึกษา(ในต่างประเทศ)ก็ได้ถกเถียงกันอย่างดุเเดือดพอสมควร ดังที่เราจะเห็นได้จากบทความที่นักการศึกษา 2 กลุ่ม เขียนแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันไปมา ตัวอย่างเช่น

การถกเถียงนี้เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1996 – 1999 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แนวคิดเกี่ยวกับ Situate Learning และ Communities of Practice เพิ่งได้รับการเผยแพร่ในต่างประเทศ นักการศึกษากลุ่มหนึ่งเห็นด้วยและเห็นว่า แนวคิดใหม่ทั้งสองนี้จะมีประโยชน์ทางการศึกษา ในขณะที่นักการศึกษาีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความเชื่อมั่นในทฤษฎีการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist theory of learning) ยังคงไม่เปิดรับแนวคิดใหม่ทั้งสองนี้ นักการศึกษากลุ่มหลังนี้เห็นว่า แนวคิดทั้งสองนี้อาจไปกันไม่ได้หรือขัดแย้งกับแนวคิดทางทฤษฎีเดิม

ในมุมมองของผม แนวคิดของ Situated Learning และ Communities of Practice อธิบายการเรียนรู้โดยเน้นบทบาทของบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) ในขณะที่แนวคิดของ Constructivist theory of learning อธิบายการเรียนรู้โดยเน้นบทบาทของความรู้และความเข้าใจเดิมของปัจเจกบุคคล (ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรม) กล่าวคือ แนวคิดทางทฤษฎีเหล่านี้เป็นเรื่องเดียวกัน แต่เน้นกันคนละมิติ ฝั่งหนึ่งเน้นอิทธิพลภายนอก (นั่นคือ สังคมและวัฒนธรรม) ในขณะที่อีกฝั่งหนึ่งเน้นอิทธิพลภายใน (ความรู้และความเข้าใจเดิม) ดังนั้น แนวคิดทางทฤษฎีเหล่านี้ไม่ขัดแย้งกัน หากแต่ส่งเสริมซึ่งกันและกันด้วยซ้ำ

ในท้ายที่สุดแล้ว การถกเถียงกันของนักการศึกษา 2 กลุ่มก็นำไปสู่การ “ประนีประนอมทางความคิด” (ตามที่ผมนำเสนอในย่อหน้าข้างบนนี้) ซึ่งเขาเรียกแนวคิดแบบผสมผสานนี้ว่า “Cognitive Apprenticeship” เมื่ออ่านรายละีเอียดแล้ว ผมจะมานำเสนออีกครั้งนะครับ

Comments

comments