Misconception, Alternative Conception, and the Like

หากอาจารย์อ่านงานวิจัยในต่างประเทศที่ศึกษาแนวคิดของนักเรียนในเรื่องต่างๆ อาจารย์อาจจะพบว่า ผู้วิจัยแต่ละคนอาจใช้คำศัพท์แทน “แนวคิดที่คลาดเคลื่อน” แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น บางคนอาจใช้คำว่า Misconception ในขณะที่บางคนอาจใช้คำว่า Alternative Conception ส่วนบางคนก็อาจใช้คำอื่นๆ นอกเหนือจาก 2 คำนี้

การใช้คำเพื่อแทน “แนวคิดที่คลาดเคลื่อน” ของนักเรียนเป็นที่ถกเถียงกันมานานพอสมควรว่า คำใดเหมาะสมกว่ากัน แต่ก็คงไม่มีใครที่จะให้คำตอบที่เด็ดขาดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผลของผู้วิจัยแต่ละคน โดยส่วนตัวผมชอบเหตุผลของ John Clement (1993: 1241 – 1242) ดังนี้

Alternative conceptions (misconceptions) are used here for conceptions that can conflict with currently accepted scientific theory. There has been some controversy over whether to call these misconceptions, alternative conceptions, or something else. A potential problem with the term misconception is that it might suggest a negative connotation with respect to the worth of the student’s self-constructed ideas and thought processes. Such conceptions should be respected as creative constructions of the individual, and in some cases they are successful adaptations to practical situations in the world. The problem with the term alternative conception is that it can be taken to mean that all ideas are equally useful in all contexts, which is not true. […] Probably the most important need is to define precisely the terms that one uses. Here I suggest that a useful definition for both of the terms misconception and alternative conception […] is the one I have used in the past for misconception: a conception that can conflict with currently accepted physical theory. This definition avoids implying that the expert has found truths with absolute certainty or that the naive student’s ideas are worthless and unimprovable. In this article I will favor the term alternative conception

ผมแปลหยาบๆ ให้เป็นภาษาไทยได้ดังนี้ครับ

Alternative conceptions (misconceptions) ถูกใช้ ณ ที่นี้ เพื่อแทนแนวคิดที่ขัดแย้งกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน มีการถกเถียงกันมานานแล้วว่า (เราควร)เรียกแนวคิดเหล่านี้ว่า misconception, alternative conception, หรือ อย่างอื่น ปัญหาที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งของการใช้คำว่า misconception คือ มันอาจสื่อถึงความหมายเชิงลบที่ไม่ให้เกียรติความคิดและกระบวนการคิดที่นักเรียนได้สร้างขึ้นด้วยตัวเอง แนวคิดเหล่านี้(ของนักเรียน)ควรได้รับความเคารพในฐานะสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นอย่างสร้างสรรค์ และในบางกรณี มันถูกนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จในสถานการณ์จริง ปัญหาอย่างหนึ่งของการใช้คำว่า alternative conception คือ มันอาจสื่อความหมายว่า ทุกๆ ความคิดมีประโยชน์พอกันในทุกสถานการณ์ ซึ่งมันไม่จริงเลย […] บางที สิ่งที่จำเป็นที่สุดก็คือการให้นิยามของคำที่เราจะใช้อย่างแม่นยำ ข้าพเจ้าขอเสนอไว้ ณ ที่นี้ ว่า นิยามหนึ่งที่มีประโยชน์สำหรับคำว่า misconception และ alternative conception […] ก็คือ นิยามที่ข้าพเจ้าได้ใช้มาตลอดในอดีต นั่นคือ แนวคิดที่ขัดแย้งกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน นิยามนี้หลีกเลี่ยงการสื่อความหมายว่า ผู้เชี่ยวชาญได้ค้นพบความจริงแท้แน่นอน ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ หรือ ความคิดเดิมของนักเรียนเป็นสิ่งที่ไร้ค่าและไม่สามารถปรับปรุงได้ ในบทความนี้ ข้าพเจ้าจึงขอใช้คำว่า alternative conception

โดยสรุป misconception และ alternative conception มีความหมายเหมือนกัน นั่นคือ แนวคิดที่ขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ โดย John Clement เห็นว่า การใช้คำว่า misconception นั้นเป็นการไม่ให้เกียรติความพยายามของนักเรียนในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (แม้ว่าแนวคิดนั้นอาจผิดหรือไม่ถูกต้อง แต่เราในฐานะครูก็ควรยกย่องนักเรียน ที่พวกเขาได้พยายามอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว) John Clement จึงเลือกใช้คำว่า alternative conception ซึ่งให้ความหมายกลางๆ มากกว่า (ไม่มีการตัดสินแนวคิดของนักเรียนว่า “ผิด”)

ในงานวิจัยภาษาไทย อาจารย์อาจพบผู้วิจัยบางคนที่ใช้คำว่า “แนวคิดที่คลาดเคลื่อน” และผู้วิจัยบางคนที่ใช้คำว่า “แนวคิดทางเลือก” ทั้งสองคำมีที่มาจากคำว่า misconception และ alternative conception ตามสำดับ

ส่วนตัวอาจารย์จะใช้คำไหนก็ได้ครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผลของอาจารย์เองในการใช้คำนั้นๆ