เบื้องหลังการพิจารณาบทความวิจัย

ลักษณะประการหนึ่งของบทความวิจัยที่น่าเชื่อถือคือว่า บทความนั้นต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเราอาจเรียกกระบวนการนี้ว่า “Peer Review” โดยผู้วิจัยส่งต้นฉบับของบทความวิจัยไปยังวารสารที่ตนเองต้องการเผยแพร่ จากนั้น บรรณาธิการก็จะพิจารณาว่า ผู้ทรงคุณวุฒิคนใดที่เหมาะสมกับการพิจารณาบทความนั้น จากนั้น บรรณาธิการก็จะติดต่อผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่ออ่าน พิจารณา และตัดสินว่า บทความวิจัยสมควรได้รับการเผยแพร่ในวารสารหรือไม่ โดยจำนวนของผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละวารสารอาจไม่เท่ากันครับ ผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิมักเป็น 1 ใน 4 ทางเลือก คือ

  1. ยอมรับโดยไม่มีการแก้ไข
  2. ยอมรับโดยมีการแก้ไขส่วนน้อย
  3. ยอมรับโดยมีการแก้ไขส่วนใหญ่
  4. ปฏิเสธ

กระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิอาจใช้เวลาไม่เท่ากันครับ

ในกรณีที่มีการยอมรับโดยมีการแก้ไขส่วนน้อยหรือส่วนใหญ่ ในบางครั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิก็อาจเสนอให้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วน ตัดเนื้อหาบางส่วนออก และ/หรือ ปรับแก้เนื้อหาบางส่วน ซึ่งผู้วิจัยก็ควรปฏิบัติตาม หากผู้วิจัยเห็นด้วยกับข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิ แต่หากผู้วิจัยไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้วิจัยก็ต้องมีการชี้แจง

การสื่อสารกันระหว่างผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิจะผ่านบรรณาธิการ โดยไม่มีการเปิดเผยว่า ผู้วิจัยเป็นใครและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นใคร ทั้งนี้เพื่อลดอคติของผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ การสื่อสารระหว่างผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิอาจใช้วิธีการแก้ไขเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมประมวลคำ (Word procession) ซึ่งโปรแกรมต่างๆ ก็จะมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้อยู่แล้ว ในกรณีของโปรแกรม MS Word เครื่องมือที่ว่านี้มีชื่อว่า “Track Changes” ซึ่งเป็นคำสั่งในเมนู “Review” เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิทราบว่า อีกฝ่ายได้เพิ่ม ลบ และ/หรือ แก้ไขอะไรไปบ้าง

อาจารย์ลองดูตัวอย่างไฟล์ที่มีการแก้ไขในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหนึ่งนะครับ อาจารย์จะเห็นว่า พวกเขา/เธอแก้ไขกันละเอียดมากเลยครับ และนี่ก็เป็นเบื้องหลังของกระบวนการเผยแพร่บทความวิจัยที่มี “Peer Review” ครับ

Comments

comments